Custom Search
 
ปราสาทหินพนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ
จ.บุรีรัมย์
(ดูภาพด้านล่าง)

     ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงติดอันดับต้น  ๆ ของประเทศไทย และเป็นปราสาทหินที่มีชื่อเสียงมากของจังหวัดบุรีรัมย์ ในเรื่องของความงดงามทางสถาปัตยกรรม ปราสาทหินพนมรุ้ง หากแปลตามภาษาของเขมร  “พนมรุ้ง หรือ วนํรุง” หมายถึง ภูเขาใหญ่ ซึ่งตรงกับสถานที่ตั้งของตัวปราสาทหินพนมรุ้งที่ตั้งอยู่บนยอดของภูเขาไฟที่ดับแล้ว จากลักษณะสถาปัตยกรรมของโบราณสถานเชื่อว่าปราสาทหินพนมรุ้งเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงพุทธศตวรรษที่ 17 และได้รับการเปลี่ยนเป็นศาสนสถานทางพุทธศาสนาในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7


ริมทางสู่ปราสาทหินพนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์ เส้นทางสู่ปราสาทหินพนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์ ทัศนียภาพ ปราสาทหินพนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ
เสานางเรียง และเส้นทางสู่ปราสาทหินพนมรุ้ง และทิวทัศน์งดงามจากจุดชมวิวบนลานปราสาทหินพนมรุ้ง

ปราสาทหินพนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ  ปราสาทหินพนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ  ปราสาทหินพนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ
ความงดงามด้านนอกตัวปราสาทหินพนมรุ้ง

ปราสาทหินพนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ  ปราสาทหินพนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ  ปราสาทหินพนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ  ปราสาทหินพนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ
ปรางค์ และบรรณาลัย ภายในปราสาทหินพนมรุ้ง


     ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นปราสาทหินที่เมื่อทีมงานท่องเที่ยวดอทคอม(www.Thongteaw.com) ของเราได้เห็นด้วยตาแล้วต้องรู้สึกตื่นตะลึงกับความยิ่งใหญ่ และความสูงที่ดูด้วยสายตาคร่าว ๆ กำลังกังวลว่าจะสามารถพาตัวเราเองขึ้นไปถึงได้หรือไม่ แต่เมื่อมาถึงสถานที่แล้วจึงมีแต่การมุ่งไปข้างหน้าเท่านั้น ด่านแรกที่เราจะต้องฟันฝ่าคือ บันไดหินสูงเล็กน้อย ประมาณ 2-3 ช่วงติด ๆ กัน เมื่อพ้นขึ้นมาจะได้พบกับเส้นทางที่ทอดตัวยาวสุดสายตาสู่ปราสาทหินบนเนินเขา ระหว่างสองข้างของเส้นทางจะพบเสานางเรียง (เสาที่ปักรายเป็นแถว ไว้ระยะแต่ละต้นห่างกันพอสมควร สําหรับแสดงแนวถนนหรือกั้นเขต) เรียงรายไปตลอดทางจนถึงเชิงเขา ด้านข้างสองฝั่งตลอดเส้นทางสดชื่นไปด้วยร่มไม้ใหญ่ เมื่อสิ้นสุดเส้นทางของเสานางเรียงจะเชื่อมถึงสะพานนาคราชเป็นพื้นที่รูปกากบาทยกพื้นสูง (มีความเชื่อว่าเป็นประตูเชื่อมระหว่างดินแดนมนุษย์ และสวรรค์ บริเวณกึ่งกลางจะพบภาพดอกบัวแปดกลีบ (จะพบอีกครั้งเมื่ออยู่บริเวณด้านหน้าประตูทางเข้าปราสาทหินพนมรุ้ง) เมื่อเดินมาถึงจุดนี้ก็ต้องหยุดพักเหนื่อยกันสักเล็กน้อย เพื่อสูดลมหายใจให้เต็มปอดก่อนที่จะไต่ไปตามขั้นบันไดมุ่งสู่ตัวปราสาทหินพนมรุ้ง ขณะขึ้นสู่ปราสาทหินพนมรุ้งทิวทัศน์สองข้างทางจะเปลี่ยนไปตามระดับความสูงที่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนถึงบนสุดเป็นอีกหนึ่งจุดชมวิวมุมสูงที่สวยงาม บริเวณด้านนอกของปราสาทยังมีอีกหนึ่งจุดชมวิวด้านหลังให้ถ่ายภาพสวย ๆ ไว้เป็นที่ระลึก ส่วนด้านหน้านั้นมีสระน้ำอยู่ทั้งสองด้าน



ปราสาทหินพนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ  ปราสาทหินพนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ  ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ปราสาทหินพนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ
ลวดลายแกะสลัก หินสลักรูปดอกบัวแปดกลีบ และทัพหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ที่มีชื่อเสียง

ปราสาทหินพนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ  ภาพสลักเทวดารักษาทิศ ภายในปราสาทหินพนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ  ปราสาทหินพนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ  ปราสาทหินพนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ
ลายหินแกะสลักบริเวณเสาประตู รูปเทวดาประจำทิศ ฤาษี และเทพดาทางศาสนาฮินดู ตามลำดับ

ศิวลึงค์ ปราสาทหินพนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ  โค ปราสาทหินพนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ  ปราสาทหินพนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ
แท่นศิวลึงค์ และโคนันทิพาหนะของพระศิวะ ภายในตัวปราสาทหินพนมรุ้ง




    โบราณสถาน และโบราณวัตถุภายในปราสาทหินพนมรุ้ง มีคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมควรค่าแก่การรักษาให้คงอยู่ตราบชั่วลูกหลาน ปรางค์ปราสาทนั้นมีภาพสลักบนหินทั้งที่เสากรอบประตู หน้าบัน ซุ้มประตูต่าง ๆ ทับหลัง เป็นรูปลวดลายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพเทวดาประจำทิศที่ถูกแกะสลักลงบนหินรูปสี่เหลี่ยมลูกเต๋าวางอยู่ตามด้านหน้าประตู ภาพสลักฤาษี ดอกไม้ ใบไม้ ที่ถูกแกะอยู่บนเสากรอบประตู ภาพเทพยดาตามความเชื่อทางศาสนาฮินดู เช่นพระศิวะร่ายรำ รวมถึงทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ที่มีชื่อเสียง เมื่อเดินลึกเข้าไปภายในปราสาทจะพบโบราณวัตถุ ศิวลึงค์ รูปปั้นจำลอง โคนันทิที่หมอบราบอยู่เมื่อเดินชมรอบจะพบกับโบราณสถาน “บรรณาลัย” เปรียบเสมือนห้องสมุดในสมัยปัจจุบันใช้เก็บรักษาคัมภีร์ทางพุทธศาสนา




ปราสาทหินพนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ  ปราสาทหินพนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ  ปราสาทหินพนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ
บริเวณระเบียงคตภายในปราสาทหินพนมรุ้ง

ปราสาทหินพนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ  ปราสาทหินพนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ  ปราสาทหินพนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ  ปราสาทหินพนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ
โบราณสถาน และโบราณวัตถุมุมต่าง ๆ ของปราสาทหินพนมรุ้ง

ปราสาทหินพนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ  ปราสาทหินพนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ  ปราสาทหินพนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ
บรรยากาศโดยรอบปราสาทหินพนมรุ้ง

บัว ปราสาทหินพนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ  กบ ปราสาทหินพนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ  บัว ปราสาทหินพนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ
ดอกบัวงามในสระด้านหน้าปราสาทหินพนมรุ้ง

จุดชมวิวระหว่างทางขั้น ปราสาทหินพนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ  จุดชมวิวระหว่างทางขั้น ปราสาทหินพนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ  จุดชมวิวระหว่างทางขั้น ปราสาทหินพนมรุ้ง อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ
ภาพทิวทัศน์จากจุดชมวิวบนปราสาทหินพนมรุ้ง



การเดินทาง
(ขอบคุณที่มาการเดินทางจาก ททท.)
การเดินทางไปอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
รถส่วนบุคคล จากตัวจังหวัดบุรีรัมย์ สามารถเดินทางไป พนมรุ้งได้ 2 เส้นทาง คือ
1. ใช้เส้นทางสายบุรีรัมย์-นางรอง (ทางหลวง 208) ระยะทาง 50 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงสาย 24 ไปอีกประมาณ 14 กิโลเมตร ถึงบ้านตะโก เลี้ยวขวาผ่านบ้านตาเป็ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติไปพนมรุ้งเป็นระยะทางอีก 12 กิโลเมตร
2. ใช้เส้นทางสายบุรีรัมย์-ประโคนชัย ทางหลวงหมายเลข 23 เป็นระยะทาง 44 กิโลเมตร จากตัวอำเภอประโคนชัย มีทางแยกไปพนมรุ้ง ระยะทางอีก 21 กิโลเมตร
3. รถโดยสาร จากสถานีขนส่งบุรีรัมย์ ขึ้นรถสายบุรีรัมย์-จันทบุรี ลงรถที่บ้านตะโกแล้วต่อรถสองแถว
4. มอเตอร์ไซค์รับจ้างไปพนมรุ้ง ควรตกลงราคาค่าโดยสารก่อนเดินทาง



หมายเหตุ:

     เวลาเปิด-ปิด : อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 06.00-18.00 น. 

     อัตราค่าเข้าชม : ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท หรือสามารถซื้อบัตรรวมได้ ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างประเทศ 150 บาท โดยบัตรนี้สามารถเข้าชมโบราณสถานในจังหวัดบุรีรัมย์ได้  ได้แก่ โบราณสถานปราสาทเมืองต่ำ ที่อำเภอประโคนชัย ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 150 บาท 

     สอบถามรายละเอียดได้ที่ สำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง โทร. 044-782715, 0 44-78 2717 ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ขึ้นและตก ตรง 15 ช่องประตู ในรอบ 1 ปีนักท่องเที่ยวสามารถชมปรากฏการณ์มหัศจรรย์ทางสถาปัตยกรรม ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกตรง 15 ช่องประตูของปราสาทจำนวน 4 ครั้งด้วยกัน  ครั้งที่ 1 ประมาณต้นเดือนมีนาคม (พระอาทิตย์ตก) ครั้งที่ 2 เดือนเมษายน (พระอาทิตย์ขึ้น) ครั้งที่ 3 เดือนกันยายน (พระอาทิตย์ขึ้น) และครั้งที่ 4 เดือนตุลาคม (พระอาทิตย์ตก) ทุกช่วงเวลาสามารถมองเห็นดวงอาทิตย์ตรงช่องประตูประมาณ 8 นาที ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในวันนั้นด้วย สอบถามวันเวลาได้ที่อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง



 

ภาพทุกภาพภายในเว็บไซต์หน้านี้เป็นลิขสิทธิ์ของท่องเที่ยวดอทคอม (www.Thongteaw.com)
หากทำการคัดลอก หรือนำไปใช้ในกรณีใด ๆ โดยไม่ได้รับอนุญาต
เป็นลายลักษณ์อักษรจากทางทีมงาน จะถูกดำเนินการทางกฎหมายขั้นเด็ดขาด


Copy right © 2008 by Thongteaw.com - All Rights Reserved
เลขทะเบียนพาณิชย์อิเล็คโทรนิคส์ 3102201494154